โลโก้เว็บไซต์ กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU ลงพื้นที่ประเมินตรวจติดตามโครงการ Pre-Talent Mobility ประจำปี 2566 โครงการพัฒนากระบวนการลดความชื้นของวัตถุดิบในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารภูคาวชนิดแคปซูล ของ นายเฉลิม ยาวิลาศ หัวหน้าโครงการ ร่วมกับ บริษัท เฮอร์บอร์ก(ไทยแลนด์) จำกัด  | สำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU ลงพื้นที่ประเมินตรวจติดตามโครงการ Pre-Talent Mobility ประจำปี 2566 โครงการพัฒนากระบวนการลดความชื้นของวัตถุดิบในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารภูคาวชนิดแคปซูล ของ นายเฉลิม ยาวิลาศ หัวหน้าโครงการ ร่วมกับ บริษัท เฮอร์บอร์ก(ไทยแลนด์) จำกัด

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 6 ธันวาคม 2566 โดย Natthida Wongpaeng จำนวนผู้เข้าชม 945 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU ได้ลงพื้นที่ ณ สถานประกอบการ ณ บริษัท เฮอร์บอร์ก(ไทยแลนด์) จำกัด ตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อประชุมประเมินตรวจติดตามโครงการ Pre-Talent Mobility ประจำปี 2566 และสำรวจโจทย์ความต้องการร่วมกับสถานประกอบการเพื่อต่อยอดงานวิจัย ณ สถานประกอบการ "การพัฒนากระบวนการลดความชื้นของวัตถุดิบในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารภูคาวชนิดแคปซูล ของ นายเฉลิม ยาวิลาศ อาจารย์สังกัดคณะ วิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา เชียงใหม่ หัวหน้าโครงการ"

โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไกรลาศ ดอนชัย อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมการสร้างเครื่องมือ เครื่องจักร พัฒนากระบวนการผลิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา เชียงใหม่ ให้เกียรติเป็นคณะกรรมการประเมินโครงการดังกล่าว 

ทั้งนี้ นายเฉลิม ยาวิลาศ (หัวหน้าโครงการ),นายพฤทธิ์ เนตรสว่าง (ผู้ร่วมโครงการ), ภก.อุดม รินคา (สถานประกอบการ), นางสาวพรพิมล วิรุฬรัตน์ (สถานประกอบการ) และนางณัฏฐรินดา เนตรสว่าง (สถานประกอบการ) บริษัท เฮอร์บอร์ก(ไทยแลนด์) จำกัด ได้รายงานผลการดำเนินงานโครงการในที่ประชุม และร่วมหารือ แนวทางในการพัฒนาโครงการดังกล่าวเพื่อต่อยอดงานวิจัย อีกทั้งแนะนำผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรพื้นบ้านทางภาคเหนือ สู่การนำมาแปรรูปด้วยกรรมวิธีการสกัดชีวภาพ ให้ได้น้ำพลูคาวสกัดเข้มข้น พลูคาวสกัด ทั้งชนิดแคปซูล อัดเม็ด สูตรน้ำคาวตองหมัก (ตราคาวตองแมค) ที่มีสารคุณสมบัติในการกระตุ้นร่างกาย ขจัดพิษ ต้านอนุมูลอิสระ ปรับสมดุลให้แก่ร่างกาย ที่เกิดจากสารต้านอนุมูลอิสระ จุลินทรีย์แลคโตบาซิลัส และเบต้ากลูแคนที่ไปกระตุ้นการเพิ่มจำนวนเซลล์ต้นกำเนิด ในการฟื้นฟู เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ซ่อมแซมเซลล์อวัยวะที่สึกหรอ และพาเยี่ยมชมโรงเรือนพาราโบล่า ที่ใช้ในกระบวนการทำแห้งสมุนไพร ผักพลูคาว-คาวตอง เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบหลักของผลิตภัณฑ์สมุนไพรพลูคาวชนิดแคปซูลของบริษัทอีกด้วย 

จากโครงการได้มีการพัฒนาศึกษาและวิเคราะหฺ์ปัญหาในกระบวนการลดความชื้นวัตถุดิบสำหรับผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารพลูคาว โดยได้ออกแบบแนวทางการเก็บข้อมูลสภาวะอากาศภายในโรงเรือนเบื้องต้นเพื่อการสร้างแบบจำลองการไหลของอากาศ ซึ่งจะสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปออกแบบและพัฒนาการไหลเวียนของอากาศภายในโรงเรือนให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้โรงเรือนแสงอาทิตย์ในการลดความชี้นให้แก่วัตถุดิบต่อไปในอนาคต โดยออกแบบติดตั้งอุปกรณ์ IoT ปรับปรุงระบบพัดลมระบายความชื้นจากโซล่าเซลล์เป็นกระแสไฟ 220 โวลต์ เพื่อเก็บข้อมูลสภาวะภายในโรงเรือน และเพื่อวัดสภาวะของอากาศภายในและนอกโรงเรือน อีกทั้งได้มีการวางแผนการพัฒนาต่อยอดโครงการ และแนวทางการพัฒนาโรงเรือน และผลิตภัณฑ์ของสถานประกอบการ ที่จะส่งผลประโยชน์แก่ธุรกิจของสถานประกอบการในอนาคตอีกด้วย





ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา